การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Self Maintenance) เสาเอกของ TPM
ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ได้กำหนดเอาไว้ว่า องค์การต้องมีวิธีการปรับปรุงระบบกระบวนการผลิตและการส่งมอบ
ที่ทำให้ผลการดำเนินการของผลิตภัณฑ์และบริการดีขึ้น
การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการเป็นการลดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
เพื่อให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มที่
ในปัจจุบันนับได้ว่า “เครื่องจักร” เป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก เนื่องจากเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรขึ้นมาแทนที่
“การใช้แรงงาน” ในกระบวนการผลิต
ดังนั้น การบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่ให้เกิดความเสียหายหรือขัดข้องอย่างกระทันหัน
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ดี ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป
“ช่างซ่อมบำรุง” 1 คนต้องรับผิดชอบต่อเครื่องจักรโดยเฉลี่ยประมาณ 10-20 เครื่อง เมื่อเครื่องจักรเกิดการขัดข้องทำให้ต้องเสียเวลารอช่างซ่อมบำรุงเป็นเวลานาน
สาเหตุเนื่องจากช่างซ่อมบำรุงกำลังแก้ไขเครื่องจักรตัวอื่นๆ อยู่
จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า ถ้าเครื่องจักรมีอาการขัดข้องและสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการง่ายๆ
“พนักงานฝ่ายผลิต” ควรจะสามารถแก้ไขและบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น จึงเป็นที่มาของ “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง” (Self Maintenance) 1 ใน 8 เสาหลักของ “การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม” (Total
Productive Maintenance: TPM)
รูปแสดงเสาหลักของ TPM
เขาเริ่มต้นทำการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างไร
ฝ่ายผลิตมักได้รับผลกระทบอยู่เสมอเมื่อเครื่องจักรมีการขัดข้องเป็นเวลานาน
เพราะทำให้ส่งมอบสินค้าไม่ทันเวลา และในอดีต สิ่งที่มักเกิดขึ้นตามมาก็คือ การถกเถียงกันระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายซ่อมบำรุงว่า
“ใครผิด”
จนกระทั่งวันหนึ่งผู้จัดการฝ่ายผลิตได้ปรึกษากับผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงว่า
ต้องการนำแนวคิดของการบำรุงรักษาด้วยตนเองที่เพิ่งไปอบรมมาด้วยกัน มาทดลองกับเครื่องจักรบางตัวที่มีปัญหาเครื่องเสียบ่อยๆ ซึ่งผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
และยินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่ เริ่มด้วยการให้ลูกน้องของตนเองที่เป็นวิศวกรไปฝึกสอนพนักงานฝ่ายผลิตที่คุมเครื่องจักร
ให้รู้เกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่การทำงานของเครื่องจักร
การปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของเครื่องจักร การทำความสะอาด การตรวจสอบความผิดปกติ
การเติมน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งการเปลี่ยนชิ้นส่วนและซ่อมแซมเครื่องจักรได้เองในเบื้องต้น
เพื่อให้พนักงานสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้
·
พนักงานสามารถค้นหาว่า
เครื่องจักรที่ตนเองกำลังปฏิบัติงานอยู่นั้นมีจุดใดบ้างที่ผิดปกติ โดยทั่วไปจุดผิดปกติจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการสึกหรอ
การสั่น กลิ่น เสียง อุณหภูมิของเครื่องจักร เป็นต้น
·
พนักงานสามารถแก้ไขสิ่งผิดปกติที่ตนเองค้นพบได้ในเบื้องต้น
หรือในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องสามารถแจ้งอาการที่ผิดปกติของเครื่องจักรให้ช่างซ่อมบำรุงทราบได้อย่างถูกต้อง
·
พนักงานสามารถปรับตั้งสภาวะต่างๆ
ของเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความเร็วรอบ ระยะห่าง
ของอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร เป็นต้น
·
พนักงานมีความสามารถในการรักษาสภาวะที่เหมาะสมของเครื่องจักรได้
โดยมีการตรวจสอบและควบคุมสภาวะต่างๆ ของเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิ ความดัน
ความเร็วรอบ ระยะห่าง ของอุปกรณ์ ให้อยู่ในค่ามาตรฐานตามที่กำหนด
หลังจากฝึกอบรมให้แก่พนักงานแล้ว ผู้จัดการฝ่ายผลิตก็เรียกประชุมพนักงานเพื่อชี้แจงจุดประสงค์ เป้าหมาย
กิจกรรมที่ต้องทำในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง โดยเริ่มจากกิจกรรมการทำความสะอาดเครื่องจักรครั้งใหญ่
(Big
Cleaning) ซึ่งพนักงานและช่างซ่อมบำรุงจะช่วยกันทำความสะอาด เพื่อหาจุดผิดปกติของเครื่องจักร
และจะทำการ “แขวนป้าย” ในจุดผิดปกติที่พบ
ป้ายที่ใช้แขวนบริเวณจุดที่ผิดปกติจะมี
2 สีคือ ป้ายสีขาวกับป้ายสีแดง สีของป้ายจะเป็นตัวระบุหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างพนักงานฝ่ายผลิตและช่างซ่อมบำรุง
(ป้ายขาว หมายถึง จุดผิดปกติที่พนักงานฝ่ายผลิตสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ป้ายแดง หมายถึง จุดผิดปกติที่พนักงานฝ่ายผลิตไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องให้ช่างซ่อมบำรุงแก้ไข)
เพื่อให้แต่ละฝ่ายนำไปวางแผนและแก้ไขปรับปรุงจุดผิดปกติที่พบในแต่ละจุด เพื่อให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น
คือสภาพที่ไม่มีรอยรั่ว รอยร้าว สิ่งสกปรก คราบสนิม เป็นต้น อันเป็นเหตุให้เครื่องจักรขัดข้อง ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นในการบำรุงรักษาด้วยตนเองขั้นตอนที่
1 ที่เรียกว่า การทำความสะอาดเบื้องต้น (Initial
Cleaning) จากทั้งหมด 7 ขั้นตอนของการบำรุงรักษาด้วยตนเองการขยายผลการบำรุงรักษาด้วยตนเองทั่วทั้งองค์การเมื่อได้ดำเนินการกับ “เครื่องจักรตัวอย่าง” ไปสักระยะหนึ่งจนพบว่ามีแนวโน้มที่ดีแล้ว
ผู้จัดการฝ่ายผลิตจึงจะวางแผนขยายผลไปยังเครื่องจักรทุกๆ ตัวในบริษัท
โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์ การชมเชยพนักงาน และการนำเสนอผลงานของเครื่องจักรตัวอย่าง
เพื่อกระตุ้นจูงใจพนักงานในเครื่องจักรอื่นๆ ให้มีความ
สำหรับเครื่องจักรตัวอย่าง ต้องทำการ “ตรวจประเมิน” เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
และเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องจนครบ
7 ขั้นตอน ซึ่งต้องมีการตรวจประเมินในทุกขั้นตอน
หลังจากเครื่องจักรตัวอย่างสามารถผ่านการตรวจประเมินที่จะข้ามขั้นตอนที่
1 การทำความสะอาดเบื้องต้น (Initial Cleaning) แล้ว
ก็จะดำเนินการในขั้นตอนต่อๆ ไป คือในขั้นตอนที่ 2 การกำจัดแหล่งกำเนิดปัญหาและจุดยากลำบาก
(Eliminate Source of Contamination and Difficult to Access Area) ขั้นตอนที่
3 การจัดทำมาตรฐานเบื้องต้น (Draw up Provisional Standard) ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบโดยรวม (General
Inspection) ขั้นตอนที่
5 การตรวจสอบด้วยตนเอง (Autonomous Inspection) ขั้นตอนที่ 6 การควบคุมสภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
(Standardize Procedure and Workplace Suits) ขั้นตอนที่
7 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
การบำรุงรักษาด้วยตนเองในขั้นตอนที่ 1-3 มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้
“สภาพของเครื่องจักร” มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โดยเริ่มฟื้นฟูสภาพของเครื่องจักร การกำจัดจุดอ่อนของเครื่องจักร
และการจัดทำมาตรฐานเบื้องต้นในการตรวจสอบ ทำความสะอาด
หล่อลื่นเพื่อรักษาสภาพของเครื่องจักรให้คงอยู่
การบำรุงรักษาด้วยตนเองในขั้นตอนที่ 4-5 มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้
“คน” มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับระบบพื้นฐานของเครื่องจักร
เพื่อให้สามารถตรวจสอบเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง
การบำรุงรักษาด้วยตนเองในขั้นตอนที่ 6 มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้
“สถานที่ประกอบการ” มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณรอบๆ กระบวนการผลิต
การบำรุงรักษาด้วยตนเองในขั้นตอนที่ 7 มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้
“พนักงานทุกคน” มีส่วนร่วมในการรักษาสภาพให้คงอยู่
รวมทั้งมีความคิดและทัศนคติที่จะทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
chanchai@ftpi.or.th
[1]
วิทยากรที่ปรึกษา
ส่วนบริหารการผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
|
วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558
SM
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น