วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

ABM


การบริหารฐานกิจกรรม(Activity – Based Management หรือ ABM)

          การบริหารฐานกิจกรรมเป็นแนวคิดเชิงบูรณาการที่ให้ผู้บริหารสนใจกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่ม “Customer Value” และนำมาซึ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นให้แก่กิจการ โดยเน้นการลดต้นทุน (Cost Reduction) และการพัฒนากิจการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ตัวแบบ ABM ประกอบด้วยสองมิติ ได้แก่ 
          1. มิติด้านต้นทุน (Cost Dimension
          2. มิติด้านการวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis Dimension)

          ABM คือ "การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรม" (Activity – Based Management)

              แบบจำลอง ABM (Activity-Based Management) ได้ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กร อย่างกว้างขวาง การสร้างแบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และเพื่อให้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบ บัญชีแยกประเภทขององค์กร 
          Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) โดยที่ ABC จะถูกใช้สำหรับการตอบคำถามว่า  "What do things cost ?" ขณะที่ ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process Viewซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategic) และการตัดสินใจในการปฏิบัติการ (Operation Decision) บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าปลีก ABM จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถประเมินค่าใช้จ่ายการออกใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายของการจัดวางสินค้า ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า และค่าโสหุ้ยการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ
.
1.การจัดทำเกณฑ์สมรรถนะ (Performance Criteria) สำหรับผู้ส่งมอบ
2.ให้คำแนะนำผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า
3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า
4.สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม (Transaction Cost) อย่างถูกต้อง สำหรับการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า
5.แนะนำผู้ส่งมอบในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก(Proactive Strategic) และการตัดสินใจในการปฏิบัติการ (Operation Decision) บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื ้องานในกระบวนการธุรกิจ ส าหรับธุรกิจค้าปลีก ABM จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถประเมินค่าใช้จ่ายการออกใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายของการจัดวางสินค้า ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า และค่าโสหุ้ยการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสารสนเทศเหล่านี ้ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ . 1.การจัดท าเกณฑ์สมรรถนะ (Performance Criteria) ส าหรับผู้ส่งมอบ 2.ให้ค าแนะน าผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า 3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า 4.สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม (Transaction Cost) อย่างถูกต้อง ส าหรับการส่งมอบสินค้าให้กับ ลูกค้า 5.แนะน าผู้ส่งมอบในการด าเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
.
.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น