วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

เปรียบเทียบการผลิตแบบ Lean, JIT และ TPS


การผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time) หรือ JIT เป็นการผลิตหรือส่งมอบ สิ่งที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ โดยผลิตในปริมาณเท่าที่จำเป็นและเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งวิธีการผลิตแบบทันเวลาพอดีมีเป้าหมาย
เพื่อกำจัดความสูญเปล่าหรือวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นออกให้ไปให้หมด ด้วยวิธีการดึง ( Pull Method of Material Flow) ควบคุมวัสดุ วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี
1. ลดเวลาการรอคอยในกระบวนการผลิต
2. ควบคุมวัสดุคงคลัง
3. ขจัดของเสียที่เกิดจากการผลิต
4. ขจัดความสูญเปล่า 7 ประการที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ได้แก่ การผลิตมากเกินไป การรอคอย กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ การขนส่ง การมีสินค้าคงคลังมากเกินไป การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และการผลิตของเสียหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ
ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
1. วัสดุคงคลังในระบบผลิตลดลง การที่ต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเนื่องจากความไม่แน่นอนในการผลิต แต่การผลิตแบบทันเวลาพอดีไม่ต้องการให้มีวัสดุคงคลังสำรอง จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานในองค์กรที่ต้องช่วยกันแก้ปัญหาความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น
2. ระยะเวลาการติดตั้งและการดำเนินงานสั้นลง ทำให้ต้องเพิ่มความถี่ในการผลิต
3. ควบคุมคุณภาพได้อย่างทั่วถึง เกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานในแผนกนั้นๆเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพเอง
4. ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก วัสดุคงคลังลดลง เพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและผลิตในปริมาณที่ต้องการ
ประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
1. ลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง
2. ลดการขนส่งและขนถ่ายระหว่างหน่วยงาน
3. เกิดการตอบสนองกับความต้องการของตลาดได้เร็ว
4. กำจัดสาเหตุข้อบกพร่องและปัญหาความล่าช้า
5. พนักงานมีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง
6. ลดสินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต
ระบบลีน
ปัจจุบันมีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก องค์กรหรือผู้ประกอบการผลิตต่างๆ จึงต้องปรับตัวให้องค์กรอยู่รอด โดยพยายามลดความสูญเปล่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต โดยใช้ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) มีลักษณะการผลิตที่เป็นไหลแบบต่อเนื่องโดยใช้ระบบสายพานเข้ามาร่วมในการผลิต การผลิตแบบลีน เป็นวิธีการกำจัดและลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต หรือจากการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ซึ่งจะส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพดีต้นทุนการผลิต่ำ ใช้เวลาในการผลิตน้อยและมีปริมาณของเสียน้อยมาก โดยมี 5 ขั้นตอน
1) ระบุคุณค่า (Value) การกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการให้เป็นที่ยอมรับในมุมมองของลูกค้า
2) สร้างกระแสคุณค่า (Value Stream) จัดทำขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มวางแผนจนจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าและตรวจสอบถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น
3) การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (Flow) ไม่มีการติดขัดในขั้นตอนต่างๆ สามารถทำงานได้ตามกระบวนการที่วางแผนไว้อย่างมีคุณค่าและปราศจากความสูญเสีย
4) ใช้ระบบดึง (Pull) เป็นการดึงดูดให้ลูกค้ามีความสนใจต้องการในสินค้าและบริการ โดยจะเน้นไปให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจ
5) สร้างคุณค่าและกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น (Perfection) การตรวจสอบแล้วแก้ไข ปรับปรุงกำจัดให้หมดไปและกระทำทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
การผลิตแบบ Toyota
การบริหารงานของโตโยต้าจะอาศัยหลักการพื้นฐานที่เรียกว่าหลักการ 4 P หรือ 4 Ps ประกอบด้วย
1. Philosophy (ปรัชญาการทำงานขององค์กร)
2. Process (ขบวนการการทำงาน)
3. People/Partner (บุคคลากร/ผู้ร่วมงาน)
4. Problem solving (การแก้ปัญหา) การผลิตในลักษณะดังกล่าวเกิดความสูญเปล่า ด้อยคุณภาพ มีต้นทุนที่สูงขึ้นที่เน้นลูกค้าเป็นหลักโดยหลักสำคัญของระบบการผลิตแบบโตโยต้า คือการกำจัดความสูญเปล่าและกระบวนการผลิตจะมุ่งเน้นไปในการลดต้นทุน ซึ่งมีแนวทางหลักอยู่ 2 แนวทาง คือ
1. การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in Time :JIT) เป็นระบบการผลิตที่มุ่งหมายให้ผลิตสิ่งที่ต้องการ ส่งมอบได้ตามเวลาที่กำหนด ในปริมาณที่ต้องการและมีสินค้าคงคลังเหลือน้อยที่สุด โดยหลักการที่นำมาใช้ใน JIT ได้แก่
1. ระบบดึง (pull system) เป็นการควบคุมเวลาและปริมาณการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบชิ้นส่วนหรือสินค้าโดยใช้ วิธีคัมบัง (kanban)
2. กระบวนการผลิตต่อเนื่อง (continuous flow processing) เพื่อให้ปริมาณสำรองคลังในแต่ละรอบของกระบวนการเหลือน้อยที่สุด
3. รอบการผลิต (takt time) ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้เวลาในการผลิตต่ำที่สุด
2. การควบคุมตัวเองอัตโนมัติ (jidoka) เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการทำงานที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลิตภัณฑ์ หรือเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นแล้วก็สามารถหยุดการผลิต หยุดการส่งสินค้าที่เสียหายและไม่มีคุณภาพไปยังกระบวนการต่อไป

สรุปการผลิตแบบโตโยต้า ( TPS ) เป็นการนำเครื่องมือ JIT , Lean มาประยุกต์ใช้ด้วยกันคือการผลิตแบบให้ทันเวลาเพื่อลดการสำรองวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บบำรุงรักษาก่อนการส่งมบ และออกแบบขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตให้สั้นลดความสูญเสียที่เกิดจากการรอคอย การเกิดของเสียและขั้นตอนที่ไม่จำเป็น โดยเพิ่มเติมเครื่องมือการควบคุมตัวเองแบบอัตโนมัติ (Jiduka) ก็คือการให้พนักงานในแต่ละจุดงานเป็นผู้ตรวจสอบ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน อันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการก็สามารถหยุดการผลิต หยุดการส่งสินค้าที่เสียหายและไม่มีคุณภาพไปยังกระบวนการถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น