วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

Cross Function Management คือ


ระบบการบริหารข้ามสายงาน (Cross Functional Management) (CFM) 


         จากการที่องค์กรมีการจัดทําระบบ ๕ ส และระบบ QCC โดยจะต้องมีการดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในการบริหารงานขององค์กรก็ยังขาดความสมบูรณ์ ไม่เป็นระบบ แม้สายการบังคับบัญชาจะแบนราบเนื่องจาก มีการ แบ่งการทํางานออกเป็นแผนกต่าง ๆ ดังนั้น การนํากิจกรรม QCC เข้ามาจะช่วยทําให้บุคลากรเข้าใจในการทํางานเป็นทีม มากขึ้น บุคลากรทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนก อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่ใหญ่กว่ารอรับการเยียวยาแก้ไขคือปัญหา ในระดับข้ามสายงาน ในบทนี้ผู้เขียนจึงขอนําเสนอระบบงานที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ ระบบ (Cross Functional Management) (CFM) หรือ (Cross Functional Activities) (CFA) หรือ (Cross Functional Team) (CFM) เมื่อเราจะนําระบบ CFM เข้ามาใช้ก่อนอื่นจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ถ้าปล่อยไว้นาน เพื่อนํามาเข้าระบบ CFM เช่น 
        ๑) การประสานงานในแนวราบไม่ราบรื่น (Poor Collaboration) เมื่อมีการประสานงานกันจะเกิดปัญหาทันที เป็นการประสานงานระหว่างงาน 
        ๒) มีเป้าหมายไม่ชัดเจน (Unclear Vision and Target) เรียกได้ว่าไม่มีเป้าหมาย บุคลากรไม่ทราบจุดหมาย องค์กรอาจไม่มีเป้าหมาย หรือมีแต่ไม่มีการนํามาใช้ 
        ๓) ขาดทักษะภาวะผู้นํา (Lack of Leadership) คือเป็นภาวะที่ผู้นําขาดจิตสํานึก หรือกลัวการเปลี่ยนแปลง 
        ๔) มีวัฒนธรรมที่อ่อนแอ (Weak Culture) เป็นวัฒนธรรมที่ขาดความเชื่อมั่น ไม่มีความสร้างสรรค์ มีการตําหนิ และมองเพื่อนร่วมงานในแง่ลบ ไม่มีความเชื่อใจกัน มีการมองไปว่าคนที่ทํางานให้องค์กรเป็นคนที่ได้รับ ผลประโยชน์ บุคลากรขาดความสุขในการทํางาน 
        ๕) องค์กรยังมีระบบเจ้าขุนมูลนายสูง (High Bureaucracy) เป็นวัฒนธรรมแบบระบบอุปถัมภ์ มีสายการบังคับ บัญชาหลายขั้น ทําให้มีการตัดสินใจล่าช้าขั้นตอนมาก และใช้เอกสารมาก 
        ๖) ขาดนวัตกรรม (Poor Initiative) บุคลากรขาดแรงจูงใจในการพัฒนางานโดยใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ใน การทํางาน ทํางานแค่ให้ผ่านไปวัน ๆ 
        ๗) การสื่อสารในแนวตั้งติดขัด ไม่ราบรื่น (Troublesome Vertical Communication) เป็นผลมาจากการไม่ ไว้ใจกัน ผู้บริหารขาดภาวะผู้นํา การประสานงานกันในสายการบังคับบัญชาไม่ราบรื่น ไม่มีใครฟังใคร 
        ๘) การทํางานเป็นทีมมีปัญหา (Poor Teamwork) เป็นสัญญานบอกอีกกอย่างหนึ่งว่าองค์กรกําลังมีปัญหา อันเนื่องมาจากการขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกจึงทําให้งานมีปัญหา จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๘ ข้อ องค์กรที่กําลังประสบกับปัญหาเหล่านี้เป็นองค์กรที่ไม่ได้รับความ เชื่อถือ ดังนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การปรับปรุงอาจกระทบ กับบุคลากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องมีการปรับระบบการทํางานเพื่อเข้าสู่ระบบงานสมัยใหม่  

          ระบบการทํางานสมัยใหม่ สําหรับการนําระบบการทํางานสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ระบบงานแบบเก่า ต้องมีการปรับพฤติกรรม การทํางานของบุคลากรเพื่อเป็นการเข้าสู่ระบบการทํางานสมัยใหม่ดังตาราง

                ระบบงานแบบเก่า (เอาออกไป)                           ระบบงานแบบใหม่ (เข้ามาแทน)
        ๑. แบบเก่งคนเดียว                                                   ๑. การทํางานเป็นทีม  
        ๒. ควบคุมดูแลแบบใกล้ชิด                                       ๒. แบบยึดหยุ่น กันเอง
        ๓. เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง                                           ๓. เชี่ยวชาญในเรื่องทั่ว ๆ ไป
        ๔. แบบใช้อํานาจ                                                     ๔. มีการมอบอํานาจ
        ๕. มีลําดับขั้นการบังคับบัญชามาก                           ๕. ใช้เครือข่าย
                   
            ระบบการทํางานสมัยใหม่นี้จะทําให้เกิดความคล่องตัวในการทํางาน ลดขั้นตอน ความยุ่งยาก ทําให้งานบรรจุตาม เป้าหมาย และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ดังนั้น จึงได้มีการจัดทําเครื่องมือ ที่สามารถเข้ามาช่วยให้การทํางานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ “Cross Functional Team” หรือ CFT เรียกว่า “ทีมงานข้ามสายงาน” ประโยชน์ของทีมงานข้ามสายงาน หรือ CFT ๑) เพื่อปิดจุดอ่อน สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกรูปแบบ ถ้ามีระบบงานแบบ CFM เข้ามาต่อยอดระบบงานเดิมที่ ทําอยู่ คือ ๕ ส และ QCC จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหาร จัดการ ๒) ลดปัญหาการทํางานแบบแบ่งเป็นฝ่าย เนื่องจากทํางานเฉพาะของตนเอง ทําให้การประสานงาน ในแนวราบ ติดขัด เกิดปัญหา ดังนั้น การสร้าง Team Work เข้ามาจะช่วยได้ ๓) อาจได้นวัตกรรมใหม่ ๆ จากผลงานที่ทีมงานสร้างออกมา ๔) บุคลากรที่มีความสามารถนอกเหนือจากการทํางานประจํา แต่อาจเก็บซ่อนความสามารถไว้รอวันที่จะนํา ออกมาใช้ในช่วงการทํากิจกรรมใหม่ รูปแบบการทํางานของ CFT หรือ ทีมงานข้ามสายงาน มี ๒ ลักษณะ คือ ๑) แบบชั่วคราว และ ๒) แบบถาวร โดยองค์กรจะเป็นผู้คัดเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และถ้าองค์กรมีระบบ ๕ ส และ QCC อยู่แล้ว จะทําให้เกิดความสะดวกมากขึ้น ดังนั้น องค์กรสามารถ ตั้งทีมงานที่ประกอบด้วยสมาชิกข้ามสายงาน ดังตัวอย่าง สําหรับขนาดของทีมงานอาจจัดตั้งตามความเหมาะสมกับขนาดองค์กร แล้วทําการจดทะเบียนผู้แทนทีมการเลือก ทีมงานอาจคัดเลือกมาจากพนักงานระดับใดก็ได้ ในกรณีการวางทีมงานแบบไม่ตายตัว หรืออาจใช้วิธีผสมและปรับตาม ความเหมาะสม ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ หรือใช้วิธีจะจัดทําแล้วจึงจัดตั้งทีมงาน แต่วิธีนี้มีข้อเสียคืออาจทําให้การทํางานไม่ ต่อเนื่อง

            ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทํางานแบบ CFT มิใช่มีเพียงปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ยังมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในรูปแบบอื่น เช่น
       ๑) ไม่เคยทํางานร่วมกันมาก่อน
       ๒) เป็นเพื่อนร่วมงานและเคยทํางานร่วมกันก็เป็นปัญหาได้
       ๓) เป็นเพื่อนร่วมงานกัน รู้จักกัน แต่ไม่เคยทํางานร่วมกันมาก่อน ดังนั้น จึงต้องมีการนําตัวช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาข้างต้น โดยการให้มีการมองและคิดถึงการ ปฏิบัติงานในรูปแบบของทีมงาน สายงาน A สายงาน B สายงาน C สายงาน D องค์กรทีมงาน ข้ามสายงาน ตัวช่วยลดผลกระทบในการทํางานระว่างทีมงานข้ามสายงาน
        ๑) การกําหนดนโยบาย และแนวทางที่ชัดเจน
        ๒) กําหนดเป้าหมาย
        ๓) มีการวางแผนงานชัดเจน เข้าใจง่าย ทุกคนรับรู้
        ๔) ทําสัญญาร่วมกันว่าจะทํางานให้สําเร็จ
        ๕) มีการทํางานจริงจัง
         ๖) มีการย้ําให้ทุกคนร่วมมือกัน
         ๗) มีการเสนอรางวัลในรูปแบบสัมผัสได้และแบบสัมผัสไม่ได้
         ๘) มีการอบรมเทคนิคและวิธีการทํางานร่วมกัน จะเห็นได้ว่าตัวช่วยทั้ง ๘ จะเป็นตัวช่วยให้ภารกิจดําเนินไปสู่เป้าหมาย และความสําเร็จที่รออยู่ข้างหน้า ขององค์กรที่นําไปจัดทํา ระบบ CFM เป็นระบบที่ต่อยอดมาจากระบบ QCC และยังสามารถนําไปต่อยอดกับระบบอื่น ๆ ได้อีกหลายระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น